วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

คุณภาพของหญ้าสนามกอล์ฟ

คุณภาพของหญ้าสนามกอล์ฟ

      คุณภาพของหญ้าสนามขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะ และการตอบสนองต่อการใช้งาน องค์ประกอบที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้ คือ

      1.ความหนาแน่นของต้นหญ้า (Density)
คือ จำนวนของต้นหญ้าต่อหน่วยพื้นที่เป็นลักษณะที่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และ วิธีการดูแลรักษา หญ้าเมืองหนาวพวก Bentgrasses และหญ้าเมืองร้อนพวกหญ้าแพรก (Bermudagrasses) จะให้ความหนาแน่นของกอหญ้าสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการตัดหญ้าชิดดินมาก ได้รับปุ่ยและน้ำอย่างเพียงพอและมีการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ นิกจากนี้ในหญ้าชนิดเดียวกันแต่ต่างพันธุ์ก็จะใฟ้ลักษณะความแน่นของกอหญ้าได้ต่างกัน ตัวอย่างเช่น หญ้าแพรกพันธุ์ tifgreen จะให้ความหนาแน่นของกอมากกว่าพันธุ์ tiffine เป็นต้นในสนามกอล์ฟความแน่นของกอมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในส่วนของกรีน (golfgreen) ทั้งนี้เพื่อให้ลูกกอล์ฟวิ่งบนพื้นผิวของสนามโดยไม่สะดุด มำให้การตีลูกในตำแหน่งต่าง ๆ บนกรีนเป็นไปอย่างเหมาะสมและแม่นยำ

      2.ความละเอียดของใบ (Texture)
เป็นการวัดความกว้างของแผ่นใบ หญ้าที่มีใบละเอียด เช่น หญ้าแพรกและหญ้าซอยเซีย (Zoysia grasses) จะมีลักษณะใบที่แคบและยาว ทั้งความหนาแน่นของกอและความละเอียดของใบมีความสันพันธ์กัน กล่าวคือเมื่อความแน่นของกอเพิ่มขึ้น ใบจะละเอียดมากยิ่งบึ้น

     
      3.ความสม่ำเสมอ (Uniformity)
      เป็นลักษณะที่ไม่สามารถวัดได้อย่างแม่นยำดังเช่นสองลักษณะข้างต้น ใช้การตรวจสอบจากสายตา โดยคำนึงถึงจำนวนของต้นหญ้าและลักษณะของพื้นผิวสนามหญ้าเป็นหลัก ความสม่ำเสมอขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ คือความแน่นของกอ ความละเอียดของใบ ความสูงของการตัดหญ้าและอื่น ๆ

      4.สี (Color)
หญ้าชนิดพันธุ์ที่แตกต่างกัน จะให้สีตั้งแต่สีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวเข้ม เช่น หญ้าแพรกให้สีที่แตกต่างกันขึ้นกับพันธุ์ที่ใช้ สีของต้นหญ้ายังสามารถใช้เป็นดัชนีในการตรวจสอบสภาพโดยทั่ว ๆ ไปของต้นหญ้า สีเหลืองหรือสีที่ซีดอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงการขาดอาหาร การเกิดโรคหรือปัจจัยที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต สีที่เข้มจนเกินไปอาจจะแสดงถึงการใช้ปุ๋ยมากเกินไป หรือบางระยะของการเกิดโรค การตัดหญ้าก็มีผลต่อสีของต้นหญ้าเช่นกัน การตัดที่ไม่ถูกต้องโดยมีส่วนของใบที่ถูกตัดหลงเหลือติดอยู่ที่ปลายใบ จะทำให้สนามหญ้ามีสีน้ำตาลปะปนอยู่ การใช้เครื่องตัดหญ้าให้เหมาะกับพันธุ์หญ้าที่ปลูกโดยมีใบมีดคมและปรับระดับให้ถูกต้องจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้โดยง่าย

       5.การเจริญเติบโต (Growth habit) มีอยู่ 3 รูปแบบคือ

5.1. Bunch – type เป็นลักษณะการเจริญเติบโตแบบกอตามแนวตั้งโดยไม่มีการเลื้อย หากเป็นหญ้าที่ปลูกโดยใช้เมล็ดในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ได้สนามที่สม่ำเสมอ แต่หากปลูกในอัตราที่ต่ำจะทำให้ได้สนามที่ไม่สม่ำเสมอ หญ้าในกลุ่มนี้ได้แก่ perennial ryegrasses และ annual bluegrasses เป็นต้น

5.2. Rhizomatour เป็นลักษณะการเจริญเติบโต โดยอาศัยส่วนของลำต้นใต้ดิน (rhizome) หญ้าในกลุ่มนี้สามารถให้สนามหญ้าที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ เนื่องจากการงอกของลำต้นจ่กลำต้นใต้ดินในจุดที่ห่างจากต้นแม่ คุณภาพของต้นหญ้าและความทนทานต่อการตัดในระยะชิดดินขึ้นอยู่กับการยืดตัวของลำต้นและการจัดเรียงตัวของใบ ตัวอย่างของหญ้าในกลุ่มนี้ได้แก่ หญ้าแพรกและหญ้าซอยเซีย

5.3. Stoloniferous เป็นลักษณะโดยอาศัยส่วนของลำต้นที่เลื้อยอยู่บนผิวดิน (stolon) หญ้าในกลุ่มนี้มักจะทำให้ลำต้นที่ทอดยาวไปตามพื้นดิน โดยส่วนของปลายใบตั้งขึ้น ตัวอย่างของหญ้าในกลุ่มนี้ได้แก่ หญ้าซอยเซียและหญ้าเซ้นต์ออกัสติน (St.Augustinegrass)
      
      6.ความเรียบ (Smoothness)
คือ ลักษณะบนพื้นผิวของสนามหญ้าซึ่งมีผลทั้งในด้านความสวยงามและการตอบสนองต่อการเล่นกีฬา ในสนามกอล์ฟ ประสิทธิภาพของการพัตลูกกอล์ฟจะลดลง เมื่อปลายใบของหญ้าไม่เรียบและสม่ำเสมอ
      

      7.การพัฒนาของราก (Rooting)
เป็นการเจริญเติบโตของรากในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่ต้นหญ้ากำลังเจริญเติบโต สามารถตรวจสอบอย่างง่าย ๆ โดยการใช้เสียมขนาดเล็กหรือมีดขุดต้นหญ้าขึ้นมา แล้วใช้มือดึงส่วนของดินที่ติดมาออกอย่างช้า ๆ หากพบรากสีขาวในปริมาณมากและแทงลึกลงดินหลายนิ้วจะแสดงให้เห็นถึงระบบรากที่สมบูรณ์ แต่ถ้ารากอยู่ตื้นและรวมกลุ่มกันอยู่ส่วนบน ซึ่งเป็นส่วนที่มีเศษหญ้าหลังจากตัดแล้วทับถมกันจะแสดงให้เห็นว่าอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

      8.ความแน่นแข็งของต้นหย้า (Rigidity)
คือการต้านทานของใบหญ้าต่อแรงกดทับ ซึ่งเกี่ยวกับความทนทานต่อการฉีกขาดของหญ้า ลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีภายในเนื้อเยื่อของพืช ส่วนประกอบของน้ำในต้นหญ้า อุณหภูมิ ขนาดและความแน่นของกอหญ้า หญ้าแพรกและหญ้าซอยเซียให้สนามหญ้าที่แน่นแข็งและทนทานต่อการฉีกขาด

      9.ความยืดหยุ่น (Elasticity)
คือความสามารถของใบหญ้าที่จะดีดตัวกลับได้ง่ายเมื่อเคลื่อนย้ายสิ่งที่กดทับอยู่ เช่น ลูกกอล์ฟออกไปเป็นลักษณะที่จำเป็นในหญ้าสนามกอล์ฟเพราะการกดทับเกิดขึ้นได้เสมอทั้งจากรถตัดหญ้า จากการเหยียบย่ำและกืจกรรมอื่น ๆ

      10.การยืดตัวกลับ (Resiliency)
เป็นความสามารถของต้นหญ้าที่รับความสั่นสะเทือนโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะของผิวบนหญ้ามากนัก ลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับใบหญ้าและแขนงด้านข้างของต้นหญ้าและยังขึ้นกับวัสดุที่หญ้านั้นขึ้นอยู่ด้วย ชั้นของเศษหญ้าที่ถูกตัดรวมทั้งชนิดของดินและโครงสร้างของดินจะช่วยเพิ่มความสามารถในการยืดตัวกลับ

      11.การฟื้นตัว (Recuperative capacity)
คือความสามารถของหญ้าที่ซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลายอันเนื่องมาจาก โรค แมลง หรือการเหยียบย่ำ ลักษณะนี้ขึ้นกับพันธุกรรมของต้นหญ้า และเป็นผลโดยตรงจากวิธีการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ปัจจัยที่ลดความสามารถในการฟื้นตัว ได้แก่ การอัดแน่นของดิน ปริมาณปุ๋ยและน้ำที่มากเกินไป อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม แสงที่ไม่เพียงพอ สารพิษตกค้างในดิน รวมทั้งโรคและแมลง