วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

พันธุ์หญ้าที่ใช้ใน สนาม กอล์ฟ

พฤกษศาสตร์ของหญ้า

      1.ใบ มีลักษณะแบน บาง ยาวแต่แคบ อาจงอโค้งหรือตั้งตรง ใบกำเนิดจากข้อบนลำต้นการเกิดอาจเกิดสลับกันเป็นสองแถว ในทิศทางตรงกันข้าม ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญๆ ดังนี้ คือ กาบใบ (leaf sheath),ตัวใบ(leaf blade),เส้นกลางใบ(midrib)กาบใบจะติดอยู่กับลำต้นตรงใต้ข้อ ความยาวของกาบใบขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนลำต้น กาบใบแรกๆมักจะยาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของหญ้า ข้อต่อใบ(leaf collar)ทำมุมทแยงยื่นออกไปจากลำต้นที่ข้อต่อระหว่างกาบใบ และตัวใบจะมีเยื่อกันฝน(ligule)และเขี้ยวใบหรือ หูใบ (auricle)

      2.ลำต้น ประกอบด้วยข้อ(node) และปล้อง(internode) ความยาวของข้อขึ้นอยู่กับชนิดของหญ้านอกจากจะเป็นที่เกิดของใบแล้ว ยังเป็นที่เกิดของตา(bud)อีกด้วย บริเวณเหนือโคนกลาบใบจะเห็นวงนูนรอบๆข้อ เรียกว่า วงราก(root band)โดยเฉพาะข้อที่อยู่ใก้ลผิวดินจะเห็นวงรากชัดเจนมาก เพราะมีปุ่มเล็กๆ ปรากฎให้เห็นรอบข้อ ปุ่มเหล่านี้จะเจริญเป็นรากขึ้นไปจะเห็นเป็นวงสีเขียวใสประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญ(meristematictissue) ถ้าสังเกตุดูการเจริญเติบโตของพืชตระกูลหญ้า จะเห็นว่าลำต้น ที่อยู่เหนือดินมักจะทรงตัวตั้งขึ้น ลำต้นหญ้าบางชนิดจะมีสารสีขาวคล้ายไขมันเคลือบรอบลำต้น ช่วยลดการคายน้ำได้ดี ลำต้นของพืชตระกูลหญ้ามี 3 แบบ คือ แบบตั้งตรง(culm) แบบเลื้อยอยู่บนดิน(stolon) แบบที่อยู่ใต้ดิน(rhizome) ในการปลูกหญ้าสนามกอล์ฟควรจะเน้นให้มีลำต้นใต้ดินมากพอๆ กับลำต้นบนดิน เพราะถ้าหญ้ามีลำต้นใต้ดินมาก หากมีการสวิงแบบ "ขุดดิน"(divot)หญ้าที่แหว่งไปจะเป็นส่วนของลำต้นบนดินเป็นส่วนใหญ่ลำต้นใต้ดินจะยังอยู่เพราะถูกยึดด้วยระบบรากที่หยั่งลึกลงไปในดินทำให้หญ้าฟื้นตัวเร็ว
      3.ดอก ดอกหญ้ามีลักษณะเป็นช่อ เรียกว่าช่อดอก(inflorescence)มีแขนงเป็นช่อดอกส่วนมากเป็นแบบรวง(panicle)บนแขนงแต่ล่ะแขนงจะมีดอกหญ้า(spikelet)จำนวนแขนงและความถี่ห่างของดอกขึ้นอยู่กับชนิดของหญ้า แต่ความสำคัญของดอกหญ้าในแง่ของการจัดการสนามกอล์ฟ คือ พยายามไม่ให้หญ้าออกดอก เพราะทำให้การเจริญเติบโตของราก ใบ และลำต้นหยุดชะงัก มีผลทำให้สีของหญ้าเปลี่ยนแปลง และสิ้นเปลืองธาตุอาหารไปโดยไม่จำเป็น "เพราะในสนามกอล์ฟสิ่งที่ผู้ดูแลสนาม และผู้เล่นกอล์ฟต้องการคือความเขียวชอุ่มของหญ้า"
      4.ราก ระบบรากของหญ้าเป็นแบบรากฝอย(fibrous foot system)ถ้าสังเกตเมล็ดหญ้างอก สิ่งแรกที่งอกออกมาจากเมล็ดก่อน คือรากอ่อน(radicle)รากอ่อนชุดแรกนี้จะเจริญเป็นรากแขนง(lateral root)ในขณะที่ยอดอ่อนเจริญเติบโต และพัฒนาเป็นใบอ่อนนั้น จะเห็นรากชุดใหม่งอกออกมาจากส่วนโคนของปลอกหุ้มยอด(coleoptilar node)รากชุดนี้เรียกว่า รากวิสามัญ(adventitions root)เมื่อเกิดรากชุดนี้ รากอ่อนชุดแรกก็จะตายไป แต่ถ้าปลูกหญ้าโดยใช้ลำต้นเหนือดินที่ปราศจากราก เช่น ใช้ลำต้นของหญ้าเบอร์มิวด้ามาปลูกรากที่งอกออกมาจากข้อชุดแรกจะเป็นadventitious root รากเหล่านี้เมื่องอกออกมาจากข้อแล้วจะแตกเป็นแขนงเล็กๆ ตรงส่วนโคนของลำต้นหญ้าจนเต็มไปหมดรวมเรียกว่า รากฝอย(fibrous root)การเจริญเติบโต และการกระจายตัวของรากหญ้าขึ้นอยู่กับสภาพของดินปลูก และวิธีการปลูกหญ้า ความลึกของรากหญ้า มีความลึกของรากแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์หญ้า ความสูงและความถี่ของการตัดหญ้า การให้ปุ๋ยให้น้ำ การปราบศัตรูพืช รวมถึงคุณสมบัติของดิน

สายพันธุ์หญ้าที่ใช้ในสนามกอล์ฟ
      ในประเทศไทยพันธุ์หญ้าที่นิยมปลูกได้แก่ หญ้า เบอร์มิวด้า(Bermuda) และหญ้าซอยเซีย (Zoysia)
      1.หญ้า แพรก Bermudagrass เป็นหญ้าที่มีความสำคัญ และปลูกกันแพร่หลายมากใน สนามกอล์ฟ มีการปรับตัวได้ดี  หญ้าแพรกส่วนใหญ่ มีแหล่งกำเนิดในแถบ แอฟริกาตะวันออก และแพร่กระจายไปยังเขตอบอุ่น และเขตร้อนทั่วโลก

      หญ้าแพรกที่ใช้ทำสนามจะมีความแข็งแรงทนทาน มีลำต้นเกาะกลุ่มกันแน่น  ขนาดของใบมีตั้งแต่ขนาดปานกลางในพวกหญ้าแพรกธรรมดา (Common Bermuda grass) จนถึงฝอยละเอียดในพวกหญ้าแอฟริกา (African Bermuda grass) มีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม  ลำต้นใต้ดินและต้นเลื้อยบนดินสานกันแน่น มีระบบรากที่แผ่ขยาย กว้างและยั่งลึก หญ้าแพรกเป็นหญ้าที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วที่สุด ในกลุ่มหญ้าสนามเขตร้อน สามารถเจริญเติบโตเร็วหลังปลูก มีการฟื้นตัวเร็วหลังถูกทำลายจากโรค แมลง และการเหยีบย่ำได้ดีเยี่ยม และสามารถทนทานต่อการฉีกขาดได้ดี แบ่งออกเป็นสายพันธุ์ต่างๆที่นิยมปลูกคือ




1.1 ทิฟดอฟร์ Tifdwarf เป็นลูกผสมระหว่างหญ้าแพรกธรรมดากับ หญ้าแพรกอาฟริกา มีใบเล็ก สีเขียวเข้ม แตกกอแน่น เจริญเติบโตไม่สูงจากพื้นดินมากนัก เติบโตช้า ค่อนข้างทนต่อร่มเงา ทนต่อการตัดสั้นแนบชิดติดดินได้ดี ต้องการ การดูแลรักษาค่อนข้างสูง ไม่ทนมลพิษ นิยมใช้ปลูกทำกรีน

    1.2 ทิฟกTifgreen เป็นลูกผสมระหว่างหญ้าแพรกธรรมดากับ หญ้าแพรกอาฟริกา ใบละเอียดมาก สีเขียวเข้ม แผ่นใบอ่อนนุ่ม แตกหน่อได้ดี ทนต่อความแห้งแล้ง และการฉีกขาดได้ดีมาก มีการฟื้นตัวดี ต้องการ การดูแลรักษาสูง บนกรีนรีน 
    1.3 ทิฟเวย์ Tifway เป็นลูกผสมระหว่างหญ้าแพรกธรรมดากับ หญ้าแพรกอาฟริกา ใบค่อนข้างละเอียด สีเขียวเข้ม แผ่นใบค่อนข้างกระด้าง แตกกอแน่น อัตราการเจริญเติบโตดี ทนต่อแมลงต่างๆได้ดี นิยมใช้บนแฟร์เวย์ และแท่นที

      2.หญ้าซอยเซีย Zoysia หญ้ากลุ่มนี้ ได้แก่ หญ้าญี่ปุ่น หญ้านวลน้อย หญ้ากำมะหยี่ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออก หญ้าสามารถขึ้นได้หนาแน่นใบหยาบและแข็ง ตัดยาก แผ่ขยายโดยลำต้นบนดิน และใต้ดิน หญ้าญี่ปุ่นจะแตกเป็นฝอยลึกปานกลาง การดูแลบำรุงรักษาปานกลาง






    2.1 หญ้าญี่ปุ่น มีใบขนาดปานกลาง ปลายใบแหลมคมเติบโตช้า แผ่ขยายโดยลำต้นบนดิน และใต้ดิน ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี และเป็นกรดอ่อนๆ ทนต่อความร้อน และแห้งแล้ง ทนต่อการฉีกขาดได้ดีเยี่ยม ทนร่มเงาได้พอควร นิยมปลูกบน กรีน

    2.2 หญ้านวลน้อย Manilagrass ใบละเอียดกว่าหญ้าญี่ปุ่น แตกกอปานกลางทนต่อความแห้งแล้ง ใบสีเขียวเข้ม ละเอียดทนทานต่อร่มเงา แตกกอแน่น นิยมปลูกบนแฟร์เวย์
    2.3 หญ้ากำมะหยี่ ใบละเอียดแตกกอแน่นที่สุด การเจริญเติบโตช้า ระบบรากตื้น ไม่นิยมใชทำหญ้าสนามกอล์ฟ

การขยายพันธุ์
1.ใช้ส่วนของลำต้น โดยปลูกเป็นแผ่น
2.การดำเป็นจุด
3.ใช้ส่วนของลำต้นหว่าน
4.การใช้เมล็ดขยายพันธุ์