วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เครื่องจักรที่ใช้ในสนามกอล์ฟ

ประเภท และชนิดของเครื่องจักรที่ใช้ในสนามกอล์ฟ

ประเภทของเครื่องจักรที่ใช้ในสนามกอล์ฟ
1.รถตัดหญ้าประเภท ใบมีดชนิดแรงเหวี่ยง (Rotary)









2.รถตัดหญ้าประเภท ใบมีดพวง (Reel)















ส่วนต่างๆ ของสนามกอล์ฟ






- กรีน (Green)
- แท่นที (Tee)
- แฟร์เวย์ (Fairway)
- รัฟ (Rough)
- บังเกอร์ (Bunker)
















กรีน (Green)
-พื้นที่กรีนมีขนาดโดยเฉลี่ย ประมาณ 600-1000 ตรม.
-ความสูงในการตัดหญ้า 2.8-5 มม.
-พันธุ์หญ้าที่ไช้ ใบมีความละเอียด ลำต้นและใหลมีความหนาแน่นสม่ำเสมอ ทนการเหยีบย่ำได้ดี ทนการตัดแนบชิดติดดิน การเจริญเติบโตช้า
-เครื่องมือที่ใช้ตัดหญ้า เป็นชนิดนั่งขับ หรือเดินตาม ในประเทศไทยจะนิยมชนิดเดินตามมากกว่า เพราะกรีนมีขนาดไม่กว้างมากนัก หากใช้รถนั่งขับจะเกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น เกิดรอยบดบริเวณขอบกรีน น้ำมันหกบนกรีนฯ



รถตัดหญ้า สำหรับตัดบนกรีน
มีสองชนิดที่สามารถใช้ตัดบนกรีน ได้แก่

1.รถตัดหญ้ากรีนชนิด เดินตาม ใช้ตัดหญ้าบนกรีน 1 คันต่อสามกรีน



















2.รถตัดหญ้ากรีนชนิด นั่งขับ ใช้ตัดหญ้ากรีน 1 คันต่อ 9 กรีน


แท่นที (Tee)

-ขนาดของแท่นที โดยประมาณ 400-500 ตรม,(รวมพื้นที่ในแต่ละหลุมประมาณ 1,600-2,000 ตรม,)





-ความสูงในการตัดหญ้า ประมาณ 8-12 มม.
-พันธุ์หญ้าที่ใช้ มีการเจริญเติบโตเร็ว ฟื้นตัวได้ดีหลังการตัด ทนการตัดสั้น มีความหนาแน่น ทนทานต่อการเหยีบย่ำ โดยทั่วไป ในบ้านเราสายพันธุ์หญ้าที่นิยมใช้ได้แก่ เบอร์มิวด้า ทิฟเวย์ 419(Tifway 419) ในปัจจุบัน หลายสนามกก็มีการนำหญ้าสายพันธุ์ ใหม่เขามาใช้ปลูกบนแท่นที ได้แก่ หญ้าพาสพาลั่ม
-เครื่องตัดหญ้าที่ใช้ตัด บนแท่นทีก็คล้ายกับที่ใช้ตัดบนกรีน แต่ตั้งความสูงการตัดต่างกัน
-จำนวณรถตัดหญ้าที่ต้องใช้ สำหรับตัดหญ้า บนแท่นที ถ้าเป็นแบบนั่งขับใช้ 1 คันต่อ 9 หลุม สำหรับแบบเดินตามใช้ 2 คันต่อ 9 หลุม






แฟร์เวย์ (Fairway)

-ขนาดของแฟร์เวย์ โดยทั่วไป มีขนาดโดยประมาณ 10,000-15,000 ตรม.(6-10 ไร่)
-ในแฟร์เวย์ มีความสูงในการตัดไม่เกิน 14 มม.สำหรับการแข่งขัน โดยทั่วๆไปมีความสูในการตัด 13-18 มม.
-คุณสมบัติของพันธุ์หญ้าที่ใช้ ทนสภาพแห้งแล้งได้ดี มีความต้านทานโรคและแมลง ฟื้นตัวเร็วหลังการตัด ตอบสนองต่อปุ๋ยอัตราต่ำ ในประเทศไทย นิยมใช้หญ้าสายพันธุ์ Tifway 419 หรือหญ้านวลน้อย
-เครื่องตัดหญ้าที่ใช้ตัดหญ้าแฟร์เวย์ จะเป็นรถตัดหญ้าชนิดนั่งขับ เพราะแฟร์เวย์มีขนาดพื้นที่กว้าง ต้องใช้รถที่มีความกว้างในการตัดประมาณ 2.30-3.10 ม. เพื่อที่จะได้ตัดได้พื้นที่มากๆ ความถี่ในการตัดหญ้า ตัดทุกวัน วันเว้นวัน หรือวันเว้นสองวัน ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับคุณภาพของสนาม จำนวณรถตัดหญ้าที่มีอยู่
-จำนวณรถตัดหญ้าที่เหมาะสม รถตัดแฟร์เวย์ 1 คันต่อสนาม 9 หลุม ถ้าสนาม 27 หลุม อาจจะใช้เพียงสองคันก็ได้
-รถตัดหญ้าบนแฟร์เวย์มีดังนี้







รัฟ (Rough)
-ขนาดของรัฟ ทั่วไปมีพื้นที่ประมาณ 20,000-30,000 ตรม.(12-13 ไร่)
-มีความสูงในการตัดหญ้า ประมาณ 25-30 มม.
-รถที่ใช้ตัดหญ้าในรัฟ ใช้ได้ทั้งชนิด Rotary และReel มีทั้ง 3 ชุดตัดและ 5 ชุดตัดแล้วแต่สภาพพื้นที่ ความลาดชัน ต้นไม้ ปัจจุบันรถที่ออกแบบมาจะตัดได้เหมาะกับบางสภาพพื้นที่ ดังนั้นต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ของสนาม ถ้าเลือกรถรุ่นที่ไม่เหมาะสม รถตัดหญ้าจะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 




-รถตัดหญ้ารัฟมีดังนี้
1.รถตัดหญ้าประเภท ชนิดใช้แร็งเหวียง (Rotary)









2.รถตัดหญ้าประเภท ชนิดใบมีดพวง (Reel)


วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

คุณภาพของหญ้าสนามกอล์ฟ

คุณภาพของหญ้าสนามกอล์ฟ

      คุณภาพของหญ้าสนามขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะ และการตอบสนองต่อการใช้งาน องค์ประกอบที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้ คือ

      1.ความหนาแน่นของต้นหญ้า (Density)
คือ จำนวนของต้นหญ้าต่อหน่วยพื้นที่เป็นลักษณะที่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และ วิธีการดูแลรักษา หญ้าเมืองหนาวพวก Bentgrasses และหญ้าเมืองร้อนพวกหญ้าแพรก (Bermudagrasses) จะให้ความหนาแน่นของกอหญ้าสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการตัดหญ้าชิดดินมาก ได้รับปุ่ยและน้ำอย่างเพียงพอและมีการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ นิกจากนี้ในหญ้าชนิดเดียวกันแต่ต่างพันธุ์ก็จะใฟ้ลักษณะความแน่นของกอหญ้าได้ต่างกัน ตัวอย่างเช่น หญ้าแพรกพันธุ์ tifgreen จะให้ความหนาแน่นของกอมากกว่าพันธุ์ tiffine เป็นต้นในสนามกอล์ฟความแน่นของกอมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในส่วนของกรีน (golfgreen) ทั้งนี้เพื่อให้ลูกกอล์ฟวิ่งบนพื้นผิวของสนามโดยไม่สะดุด มำให้การตีลูกในตำแหน่งต่าง ๆ บนกรีนเป็นไปอย่างเหมาะสมและแม่นยำ

      2.ความละเอียดของใบ (Texture)
เป็นการวัดความกว้างของแผ่นใบ หญ้าที่มีใบละเอียด เช่น หญ้าแพรกและหญ้าซอยเซีย (Zoysia grasses) จะมีลักษณะใบที่แคบและยาว ทั้งความหนาแน่นของกอและความละเอียดของใบมีความสันพันธ์กัน กล่าวคือเมื่อความแน่นของกอเพิ่มขึ้น ใบจะละเอียดมากยิ่งบึ้น

     
      3.ความสม่ำเสมอ (Uniformity)
      เป็นลักษณะที่ไม่สามารถวัดได้อย่างแม่นยำดังเช่นสองลักษณะข้างต้น ใช้การตรวจสอบจากสายตา โดยคำนึงถึงจำนวนของต้นหญ้าและลักษณะของพื้นผิวสนามหญ้าเป็นหลัก ความสม่ำเสมอขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ คือความแน่นของกอ ความละเอียดของใบ ความสูงของการตัดหญ้าและอื่น ๆ

      4.สี (Color)
หญ้าชนิดพันธุ์ที่แตกต่างกัน จะให้สีตั้งแต่สีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวเข้ม เช่น หญ้าแพรกให้สีที่แตกต่างกันขึ้นกับพันธุ์ที่ใช้ สีของต้นหญ้ายังสามารถใช้เป็นดัชนีในการตรวจสอบสภาพโดยทั่ว ๆ ไปของต้นหญ้า สีเหลืองหรือสีที่ซีดอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงการขาดอาหาร การเกิดโรคหรือปัจจัยที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต สีที่เข้มจนเกินไปอาจจะแสดงถึงการใช้ปุ๋ยมากเกินไป หรือบางระยะของการเกิดโรค การตัดหญ้าก็มีผลต่อสีของต้นหญ้าเช่นกัน การตัดที่ไม่ถูกต้องโดยมีส่วนของใบที่ถูกตัดหลงเหลือติดอยู่ที่ปลายใบ จะทำให้สนามหญ้ามีสีน้ำตาลปะปนอยู่ การใช้เครื่องตัดหญ้าให้เหมาะกับพันธุ์หญ้าที่ปลูกโดยมีใบมีดคมและปรับระดับให้ถูกต้องจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้โดยง่าย

       5.การเจริญเติบโต (Growth habit) มีอยู่ 3 รูปแบบคือ

5.1. Bunch – type เป็นลักษณะการเจริญเติบโตแบบกอตามแนวตั้งโดยไม่มีการเลื้อย หากเป็นหญ้าที่ปลูกโดยใช้เมล็ดในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ได้สนามที่สม่ำเสมอ แต่หากปลูกในอัตราที่ต่ำจะทำให้ได้สนามที่ไม่สม่ำเสมอ หญ้าในกลุ่มนี้ได้แก่ perennial ryegrasses และ annual bluegrasses เป็นต้น

5.2. Rhizomatour เป็นลักษณะการเจริญเติบโต โดยอาศัยส่วนของลำต้นใต้ดิน (rhizome) หญ้าในกลุ่มนี้สามารถให้สนามหญ้าที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ เนื่องจากการงอกของลำต้นจ่กลำต้นใต้ดินในจุดที่ห่างจากต้นแม่ คุณภาพของต้นหญ้าและความทนทานต่อการตัดในระยะชิดดินขึ้นอยู่กับการยืดตัวของลำต้นและการจัดเรียงตัวของใบ ตัวอย่างของหญ้าในกลุ่มนี้ได้แก่ หญ้าแพรกและหญ้าซอยเซีย

5.3. Stoloniferous เป็นลักษณะโดยอาศัยส่วนของลำต้นที่เลื้อยอยู่บนผิวดิน (stolon) หญ้าในกลุ่มนี้มักจะทำให้ลำต้นที่ทอดยาวไปตามพื้นดิน โดยส่วนของปลายใบตั้งขึ้น ตัวอย่างของหญ้าในกลุ่มนี้ได้แก่ หญ้าซอยเซียและหญ้าเซ้นต์ออกัสติน (St.Augustinegrass)
      
      6.ความเรียบ (Smoothness)
คือ ลักษณะบนพื้นผิวของสนามหญ้าซึ่งมีผลทั้งในด้านความสวยงามและการตอบสนองต่อการเล่นกีฬา ในสนามกอล์ฟ ประสิทธิภาพของการพัตลูกกอล์ฟจะลดลง เมื่อปลายใบของหญ้าไม่เรียบและสม่ำเสมอ
      

      7.การพัฒนาของราก (Rooting)
เป็นการเจริญเติบโตของรากในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่ต้นหญ้ากำลังเจริญเติบโต สามารถตรวจสอบอย่างง่าย ๆ โดยการใช้เสียมขนาดเล็กหรือมีดขุดต้นหญ้าขึ้นมา แล้วใช้มือดึงส่วนของดินที่ติดมาออกอย่างช้า ๆ หากพบรากสีขาวในปริมาณมากและแทงลึกลงดินหลายนิ้วจะแสดงให้เห็นถึงระบบรากที่สมบูรณ์ แต่ถ้ารากอยู่ตื้นและรวมกลุ่มกันอยู่ส่วนบน ซึ่งเป็นส่วนที่มีเศษหญ้าหลังจากตัดแล้วทับถมกันจะแสดงให้เห็นว่าอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

      8.ความแน่นแข็งของต้นหย้า (Rigidity)
คือการต้านทานของใบหญ้าต่อแรงกดทับ ซึ่งเกี่ยวกับความทนทานต่อการฉีกขาดของหญ้า ลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีภายในเนื้อเยื่อของพืช ส่วนประกอบของน้ำในต้นหญ้า อุณหภูมิ ขนาดและความแน่นของกอหญ้า หญ้าแพรกและหญ้าซอยเซียให้สนามหญ้าที่แน่นแข็งและทนทานต่อการฉีกขาด

      9.ความยืดหยุ่น (Elasticity)
คือความสามารถของใบหญ้าที่จะดีดตัวกลับได้ง่ายเมื่อเคลื่อนย้ายสิ่งที่กดทับอยู่ เช่น ลูกกอล์ฟออกไปเป็นลักษณะที่จำเป็นในหญ้าสนามกอล์ฟเพราะการกดทับเกิดขึ้นได้เสมอทั้งจากรถตัดหญ้า จากการเหยียบย่ำและกืจกรรมอื่น ๆ

      10.การยืดตัวกลับ (Resiliency)
เป็นความสามารถของต้นหญ้าที่รับความสั่นสะเทือนโดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะของผิวบนหญ้ามากนัก ลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับใบหญ้าและแขนงด้านข้างของต้นหญ้าและยังขึ้นกับวัสดุที่หญ้านั้นขึ้นอยู่ด้วย ชั้นของเศษหญ้าที่ถูกตัดรวมทั้งชนิดของดินและโครงสร้างของดินจะช่วยเพิ่มความสามารถในการยืดตัวกลับ

      11.การฟื้นตัว (Recuperative capacity)
คือความสามารถของหญ้าที่ซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลายอันเนื่องมาจาก โรค แมลง หรือการเหยียบย่ำ ลักษณะนี้ขึ้นกับพันธุกรรมของต้นหญ้า และเป็นผลโดยตรงจากวิธีการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ปัจจัยที่ลดความสามารถในการฟื้นตัว ได้แก่ การอัดแน่นของดิน ปริมาณปุ๋ยและน้ำที่มากเกินไป อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม แสงที่ไม่เพียงพอ สารพิษตกค้างในดิน รวมทั้งโรคและแมลง

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

พันธุ์หญ้าที่ใช้ใน สนาม กอล์ฟ

พฤกษศาสตร์ของหญ้า

      1.ใบ มีลักษณะแบน บาง ยาวแต่แคบ อาจงอโค้งหรือตั้งตรง ใบกำเนิดจากข้อบนลำต้นการเกิดอาจเกิดสลับกันเป็นสองแถว ในทิศทางตรงกันข้าม ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญๆ ดังนี้ คือ กาบใบ (leaf sheath),ตัวใบ(leaf blade),เส้นกลางใบ(midrib)กาบใบจะติดอยู่กับลำต้นตรงใต้ข้อ ความยาวของกาบใบขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนลำต้น กาบใบแรกๆมักจะยาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของหญ้า ข้อต่อใบ(leaf collar)ทำมุมทแยงยื่นออกไปจากลำต้นที่ข้อต่อระหว่างกาบใบ และตัวใบจะมีเยื่อกันฝน(ligule)และเขี้ยวใบหรือ หูใบ (auricle)

      2.ลำต้น ประกอบด้วยข้อ(node) และปล้อง(internode) ความยาวของข้อขึ้นอยู่กับชนิดของหญ้านอกจากจะเป็นที่เกิดของใบแล้ว ยังเป็นที่เกิดของตา(bud)อีกด้วย บริเวณเหนือโคนกลาบใบจะเห็นวงนูนรอบๆข้อ เรียกว่า วงราก(root band)โดยเฉพาะข้อที่อยู่ใก้ลผิวดินจะเห็นวงรากชัดเจนมาก เพราะมีปุ่มเล็กๆ ปรากฎให้เห็นรอบข้อ ปุ่มเหล่านี้จะเจริญเป็นรากขึ้นไปจะเห็นเป็นวงสีเขียวใสประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญ(meristematictissue) ถ้าสังเกตุดูการเจริญเติบโตของพืชตระกูลหญ้า จะเห็นว่าลำต้น ที่อยู่เหนือดินมักจะทรงตัวตั้งขึ้น ลำต้นหญ้าบางชนิดจะมีสารสีขาวคล้ายไขมันเคลือบรอบลำต้น ช่วยลดการคายน้ำได้ดี ลำต้นของพืชตระกูลหญ้ามี 3 แบบ คือ แบบตั้งตรง(culm) แบบเลื้อยอยู่บนดิน(stolon) แบบที่อยู่ใต้ดิน(rhizome) ในการปลูกหญ้าสนามกอล์ฟควรจะเน้นให้มีลำต้นใต้ดินมากพอๆ กับลำต้นบนดิน เพราะถ้าหญ้ามีลำต้นใต้ดินมาก หากมีการสวิงแบบ "ขุดดิน"(divot)หญ้าที่แหว่งไปจะเป็นส่วนของลำต้นบนดินเป็นส่วนใหญ่ลำต้นใต้ดินจะยังอยู่เพราะถูกยึดด้วยระบบรากที่หยั่งลึกลงไปในดินทำให้หญ้าฟื้นตัวเร็ว
      3.ดอก ดอกหญ้ามีลักษณะเป็นช่อ เรียกว่าช่อดอก(inflorescence)มีแขนงเป็นช่อดอกส่วนมากเป็นแบบรวง(panicle)บนแขนงแต่ล่ะแขนงจะมีดอกหญ้า(spikelet)จำนวนแขนงและความถี่ห่างของดอกขึ้นอยู่กับชนิดของหญ้า แต่ความสำคัญของดอกหญ้าในแง่ของการจัดการสนามกอล์ฟ คือ พยายามไม่ให้หญ้าออกดอก เพราะทำให้การเจริญเติบโตของราก ใบ และลำต้นหยุดชะงัก มีผลทำให้สีของหญ้าเปลี่ยนแปลง และสิ้นเปลืองธาตุอาหารไปโดยไม่จำเป็น "เพราะในสนามกอล์ฟสิ่งที่ผู้ดูแลสนาม และผู้เล่นกอล์ฟต้องการคือความเขียวชอุ่มของหญ้า"
      4.ราก ระบบรากของหญ้าเป็นแบบรากฝอย(fibrous foot system)ถ้าสังเกตเมล็ดหญ้างอก สิ่งแรกที่งอกออกมาจากเมล็ดก่อน คือรากอ่อน(radicle)รากอ่อนชุดแรกนี้จะเจริญเป็นรากแขนง(lateral root)ในขณะที่ยอดอ่อนเจริญเติบโต และพัฒนาเป็นใบอ่อนนั้น จะเห็นรากชุดใหม่งอกออกมาจากส่วนโคนของปลอกหุ้มยอด(coleoptilar node)รากชุดนี้เรียกว่า รากวิสามัญ(adventitions root)เมื่อเกิดรากชุดนี้ รากอ่อนชุดแรกก็จะตายไป แต่ถ้าปลูกหญ้าโดยใช้ลำต้นเหนือดินที่ปราศจากราก เช่น ใช้ลำต้นของหญ้าเบอร์มิวด้ามาปลูกรากที่งอกออกมาจากข้อชุดแรกจะเป็นadventitious root รากเหล่านี้เมื่องอกออกมาจากข้อแล้วจะแตกเป็นแขนงเล็กๆ ตรงส่วนโคนของลำต้นหญ้าจนเต็มไปหมดรวมเรียกว่า รากฝอย(fibrous root)การเจริญเติบโต และการกระจายตัวของรากหญ้าขึ้นอยู่กับสภาพของดินปลูก และวิธีการปลูกหญ้า ความลึกของรากหญ้า มีความลึกของรากแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์หญ้า ความสูงและความถี่ของการตัดหญ้า การให้ปุ๋ยให้น้ำ การปราบศัตรูพืช รวมถึงคุณสมบัติของดิน

สายพันธุ์หญ้าที่ใช้ในสนามกอล์ฟ
      ในประเทศไทยพันธุ์หญ้าที่นิยมปลูกได้แก่ หญ้า เบอร์มิวด้า(Bermuda) และหญ้าซอยเซีย (Zoysia)
      1.หญ้า แพรก Bermudagrass เป็นหญ้าที่มีความสำคัญ และปลูกกันแพร่หลายมากใน สนามกอล์ฟ มีการปรับตัวได้ดี  หญ้าแพรกส่วนใหญ่ มีแหล่งกำเนิดในแถบ แอฟริกาตะวันออก และแพร่กระจายไปยังเขตอบอุ่น และเขตร้อนทั่วโลก

      หญ้าแพรกที่ใช้ทำสนามจะมีความแข็งแรงทนทาน มีลำต้นเกาะกลุ่มกันแน่น  ขนาดของใบมีตั้งแต่ขนาดปานกลางในพวกหญ้าแพรกธรรมดา (Common Bermuda grass) จนถึงฝอยละเอียดในพวกหญ้าแอฟริกา (African Bermuda grass) มีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม  ลำต้นใต้ดินและต้นเลื้อยบนดินสานกันแน่น มีระบบรากที่แผ่ขยาย กว้างและยั่งลึก หญ้าแพรกเป็นหญ้าที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วที่สุด ในกลุ่มหญ้าสนามเขตร้อน สามารถเจริญเติบโตเร็วหลังปลูก มีการฟื้นตัวเร็วหลังถูกทำลายจากโรค แมลง และการเหยีบย่ำได้ดีเยี่ยม และสามารถทนทานต่อการฉีกขาดได้ดี แบ่งออกเป็นสายพันธุ์ต่างๆที่นิยมปลูกคือ




1.1 ทิฟดอฟร์ Tifdwarf เป็นลูกผสมระหว่างหญ้าแพรกธรรมดากับ หญ้าแพรกอาฟริกา มีใบเล็ก สีเขียวเข้ม แตกกอแน่น เจริญเติบโตไม่สูงจากพื้นดินมากนัก เติบโตช้า ค่อนข้างทนต่อร่มเงา ทนต่อการตัดสั้นแนบชิดติดดินได้ดี ต้องการ การดูแลรักษาค่อนข้างสูง ไม่ทนมลพิษ นิยมใช้ปลูกทำกรีน

    1.2 ทิฟกTifgreen เป็นลูกผสมระหว่างหญ้าแพรกธรรมดากับ หญ้าแพรกอาฟริกา ใบละเอียดมาก สีเขียวเข้ม แผ่นใบอ่อนนุ่ม แตกหน่อได้ดี ทนต่อความแห้งแล้ง และการฉีกขาดได้ดีมาก มีการฟื้นตัวดี ต้องการ การดูแลรักษาสูง บนกรีนรีน 
    1.3 ทิฟเวย์ Tifway เป็นลูกผสมระหว่างหญ้าแพรกธรรมดากับ หญ้าแพรกอาฟริกา ใบค่อนข้างละเอียด สีเขียวเข้ม แผ่นใบค่อนข้างกระด้าง แตกกอแน่น อัตราการเจริญเติบโตดี ทนต่อแมลงต่างๆได้ดี นิยมใช้บนแฟร์เวย์ และแท่นที

      2.หญ้าซอยเซีย Zoysia หญ้ากลุ่มนี้ ได้แก่ หญ้าญี่ปุ่น หญ้านวลน้อย หญ้ากำมะหยี่ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออก หญ้าสามารถขึ้นได้หนาแน่นใบหยาบและแข็ง ตัดยาก แผ่ขยายโดยลำต้นบนดิน และใต้ดิน หญ้าญี่ปุ่นจะแตกเป็นฝอยลึกปานกลาง การดูแลบำรุงรักษาปานกลาง






    2.1 หญ้าญี่ปุ่น มีใบขนาดปานกลาง ปลายใบแหลมคมเติบโตช้า แผ่ขยายโดยลำต้นบนดิน และใต้ดิน ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี และเป็นกรดอ่อนๆ ทนต่อความร้อน และแห้งแล้ง ทนต่อการฉีกขาดได้ดีเยี่ยม ทนร่มเงาได้พอควร นิยมปลูกบน กรีน

    2.2 หญ้านวลน้อย Manilagrass ใบละเอียดกว่าหญ้าญี่ปุ่น แตกกอปานกลางทนต่อความแห้งแล้ง ใบสีเขียวเข้ม ละเอียดทนทานต่อร่มเงา แตกกอแน่น นิยมปลูกบนแฟร์เวย์
    2.3 หญ้ากำมะหยี่ ใบละเอียดแตกกอแน่นที่สุด การเจริญเติบโตช้า ระบบรากตื้น ไม่นิยมใชทำหญ้าสนามกอล์ฟ

การขยายพันธุ์
1.ใช้ส่วนของลำต้น โดยปลูกเป็นแผ่น
2.การดำเป็นจุด
3.ใช้ส่วนของลำต้นหว่าน
4.การใช้เมล็ดขยายพันธุ์