วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

แร่ธาตุอาหารพืช

      พืชจะดูดซับแร่ธาตุอาหารจำนวนเล็กน้อย เข้าไปมากกว่า 90 ชนิด แต่มีเพียง 16 ชนิด เท่านั้นที่มีความจำเป็น  แร่ธาตุอาหารที่จำเป็น แบ่งเป็นสองกลุ่ม อาศัยเกณฑ์ปริมาณที่พืชต้องการเป็นสำคัญ แร่ธาตุกลุ่มที่พืชต้องการมาก แร่ธาตุหลัก (Macronutrients)  และ แร่ธาตุกลุ่มที่พืชต้องการน้อย แร่ธาตุอาหารรอง (Micronutrients)                                                        











 - แร่ธาตุอาหารหลักได้แก่ คาร์บอน  ไฮโดรเจน  ออกซิเจน  ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  ปอแตสเซียม  แคลเซียม  แม็กนีเซียม  กำมะถัน                                                                                
 - แร่ธาตุอาหารรองได้แก่  เหล็ก  แมงกานีส  โบรอน  สังกะสี  ทองแดง  โมลิบดินัม  และคลอรีน               นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า แร่ธาตุอาหารที่เพิ่มประโยชน์  มีความจำเป็นในพืชบางชนิด ได้แก่ โซเดียม  ซิลิกอน และโคบอลท์ แต่ยังไม่ถือว่าเป็นที่จำเป็นต่อพืชชั้นสูงทั้งหมด                                                                                                
       แร่ธาตุอาหารทุกชนิดมีความสำคัญ เท่าเทียมกัน ต่อการเจริญเติบโตของพืชถ้าขาดแร่ธาตุอาหารตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบ ต่อการเจริญเติบโตของพืช แร่ธาตุอาหารหลักมีบทบาทสำคัญในการเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างพืช  ส่วนแร่ธาตุอาหารรองมีบทบาทสำคัญในการร่วมกับกระบวนการน้ำย่อย                            

    หน้าที่ของแร่ธาตุอาหารที่จำเป็น

- คาร์บอน      เป็นส่วนประกอบโมเลกุลพื้นฐานของคาร์โบไฮเดรท  โปรตีน  ไลปิด  และนิวคลีอิค เอซิด
- ออคซิเจน   คล้ายกับคาร์บอนในส่วนที่มีอยู่ในสารประกอบอินทรีย์ ทั้งหมดในสิ่งมีชีวิต
- ไฮโดรเจน  เป็นศูนย์กลางในการเผาผลาญ  มีความสำคัญ  ในความสมดุลของไอออน  เป็นส่วนหลักของโมเลกุล และแสดงบทบาทสำคัญสูงสุดต่อความสัมพันธ์ในพลังงานของเซล
- ไนโตรเจน  เป็นส่วนประกอบอินทรีย์ที่สำคัญหลายชนิด เริ่มจากโปรตีนไปจนถึง  นิวคลีอิค เอซิด
- ฟอสฟอรัส  ศูนย์กลางของพืช  ในการถ่ายเทพลังงาน  และเผาผลาญโปรตีน
- ปอแตสเซียม  ช่วยในการเร่งการแยกสารละลาย เร่งกิจกรรมของไอออน  เชื่่ยมโยง  กระตุ้นน้ำย่อยหลายชนิดของคาร์โบไฮเดรท  และการเผาผลาญ
- แคลเซียม   มีส่วนร่วมในการแบ่งเซล  และแสดงบทบาทหลักในการคงรูปร่างของชั้นเนื้อเยื่อ
- แมกนีเซียม เป็นส่วนหนึ่งของคลอโรฟีล  และเป็นส่วนเชื่ยมโยง  สำหรับปฎิกริยาของน้ำย่อยหลายชนิด
- กำมะถัน    ร่วมในการให้พลังงานแก่เซลพืช
- เหล็ก      เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในน้ำย่อยหลายชนิด  เป็นพาหะกระแสไฟฟ้าการหายใจร่วมในหน้าที่การเผาผลาญที่สำคัญสูงสุด  เช่นการครึงไนโตรเจน  การสังเคราะห์แสง  และการถ่ายเทกระแสไฟฟ้า
- สังกะสี    เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำย่ยหลายชนิด
- แมงกานีส  ร่วมในกระบวนการออกซิเจนของการสังเคราะห์แสง  และเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย Arhinase  และ  Phossphotransferase
-ทองแดง   เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยที่สำคัญ
-โบรอน     มีส่วนร่วมในขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท  และการสังเคราะห์ส่วนประกอบของผนังเซล
- โมลิบดินัม  ช่วยในการสร้างสารไนโตรเจนให้เกิดขึ้นได้เป็นปรกติในพืช 


- คลอรีน    จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสง  เป็นตัวกระตุ้นน้ำย่อยรวมไปถึงการแยกโมเลกุลของน้ำ และเร่งการแยกสารละลายในการเจริญเติบโตของพืชในดินเค็ม