วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเลือกประเภท รถตัดหญ้า ให้เหมาะสม

ประเภทรถตัดหญ้า

1. รถตัดหญ้าประเภทใบมีดพวง( Reel )


ลักษณะการทำงานของใบมีดพวง จะคล้ายกับการทำงานของกรรไกร กล่าวคือต้นหญ้าจะถูกดึงเข้าระหว่างพื้นที่ตัดทั้งสองด้าน มีคุณภาพการตัดที่ดี เป็นที่ยอมรับ ใบมีดพวงเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อน ควรใช้งานอย่างระมัดระวัง รถตัดหญ้ากรีน การขนส่ง บรรทุกเพื่อนำไปตัดกรีน ควรใส่ล้อเพื่อป้องกันการกระแทก



  ข้อดีของการใช้ใบมีดพวง

- คุณภาพการตัดดี ใบหญ้าได้รับความบอบช้ำน้อย
-การส่งเศษหญ้าออกจากชุดตัด มีความสม่ำเสมอเศษหญ้าเล็กย่อยสลายได้ดี
-สามารถตัดให้ขึ้น ลายได้ง่าย เมี่อรอบการตัดที่เหมาะสม
-ตัดหญ้าได้สั้่นแนบชิดติดดิน กว่าใบมีดหมุนเหวี่ยง




-มีใบมีดพวงให้เลีอก หลายชนิด  14,11,8,7,5 ใบมีด ขึ้นอยู่กับสภาพหญ้า และความสูงการตัด
-ใบมีดล่างมีให้เลือกหลายชนิดเช่นกัน ตามความสูง และพื้นที่การตัด
  รถตัดหญ้าประเภทใบมีดพวงจึงเหมาะกับพื้นที่ บริเวณ กรีน ที แฟร์เวย์ ราฟบางส่วน











2.รถตัดหญ้า ประเภทใบมีดชนิดแรงเหวี่ยง(Rotary)


    การทำงานของจะใช้ความเร็วของแรงเหวี่ยง และคมใบมีด ในการตัดหญ้าให้ขาด มีคุณภาพการตัดด้อยกว่าใบมีดพวงแต่มีข้อดีแตกต่างกัน

ข้อดีของใบมีดชนิดแรงเหวี่ยง

-ตัดหญ้าที่มีความสูงมากๆได้ดีกว่า(สูงเกิน 40 มิลลิเมตร ขึ้นไป)
-สภาพสนามที่มีหญ้าปน เช่น หญ้ามาเลเซีย นวลน้อย แห้วหมู จะตัดได้ดีกว่าโดย เฉพาะหญ้านวลน้อยเวลาออกดอก ซึ่งใบมีดพวงมักจะตัดไม่ขาดทั้่งหมด
-เว้นการตัดได้หลายวัน
-ชุดตัดมีความทนทานต้องการ การบำรุงรักษาน้อยกว่า
    รถตัดหญ้าประเภทใบมีดชนิดแรงเหวี่ยง ก็จะเหมาะในการตัดหญ้าบริเวณที่เราไม่ต้องการดูแลมาก ไม่ไช่พื้นที่การเล่น เพราะบางครั้่งเราดูแล พื้นที่อุปสรรค พื้นที่นอกการเล่น มากเกินไปทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น



    แต่อย่างไรก็ตาม รถตัดหญ้าประเภทใบมีดพวง ก็สามารถตัดหญ้าในพื้นที่ ราฟได้หากต้องการ จะเลือกรถคัดหญ้าประเภทไดมาใช้งานในสนาม มีปัจจัยที่ต้องพิจารณา ดังนี้



1.รอบการตัดหญ้า
2.ความสูงการตัด
3.งบประมาณ ค่าเชื้อเพลิง ค่าแรง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
4.สภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ
5.แรงงาน
6.สภาพหญ้า
7.สายพันธ์หญ้าที่ใช้
8.จำนวณเครื่องจักร และประเภทของเครื่องจักรที่มีอยู่




วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

แร่ธาตุอาหารพืช

      พืชจะดูดซับแร่ธาตุอาหารจำนวนเล็กน้อย เข้าไปมากกว่า 90 ชนิด แต่มีเพียง 16 ชนิด เท่านั้นที่มีความจำเป็น  แร่ธาตุอาหารที่จำเป็น แบ่งเป็นสองกลุ่ม อาศัยเกณฑ์ปริมาณที่พืชต้องการเป็นสำคัญ แร่ธาตุกลุ่มที่พืชต้องการมาก แร่ธาตุหลัก (Macronutrients)  และ แร่ธาตุกลุ่มที่พืชต้องการน้อย แร่ธาตุอาหารรอง (Micronutrients)                                                        











 - แร่ธาตุอาหารหลักได้แก่ คาร์บอน  ไฮโดรเจน  ออกซิเจน  ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  ปอแตสเซียม  แคลเซียม  แม็กนีเซียม  กำมะถัน                                                                                
 - แร่ธาตุอาหารรองได้แก่  เหล็ก  แมงกานีส  โบรอน  สังกะสี  ทองแดง  โมลิบดินัม  และคลอรีน               นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า แร่ธาตุอาหารที่เพิ่มประโยชน์  มีความจำเป็นในพืชบางชนิด ได้แก่ โซเดียม  ซิลิกอน และโคบอลท์ แต่ยังไม่ถือว่าเป็นที่จำเป็นต่อพืชชั้นสูงทั้งหมด                                                                                                
       แร่ธาตุอาหารทุกชนิดมีความสำคัญ เท่าเทียมกัน ต่อการเจริญเติบโตของพืชถ้าขาดแร่ธาตุอาหารตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะส่งผลกระทบ ต่อการเจริญเติบโตของพืช แร่ธาตุอาหารหลักมีบทบาทสำคัญในการเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างพืช  ส่วนแร่ธาตุอาหารรองมีบทบาทสำคัญในการร่วมกับกระบวนการน้ำย่อย                            

    หน้าที่ของแร่ธาตุอาหารที่จำเป็น

- คาร์บอน      เป็นส่วนประกอบโมเลกุลพื้นฐานของคาร์โบไฮเดรท  โปรตีน  ไลปิด  และนิวคลีอิค เอซิด
- ออคซิเจน   คล้ายกับคาร์บอนในส่วนที่มีอยู่ในสารประกอบอินทรีย์ ทั้งหมดในสิ่งมีชีวิต
- ไฮโดรเจน  เป็นศูนย์กลางในการเผาผลาญ  มีความสำคัญ  ในความสมดุลของไอออน  เป็นส่วนหลักของโมเลกุล และแสดงบทบาทสำคัญสูงสุดต่อความสัมพันธ์ในพลังงานของเซล
- ไนโตรเจน  เป็นส่วนประกอบอินทรีย์ที่สำคัญหลายชนิด เริ่มจากโปรตีนไปจนถึง  นิวคลีอิค เอซิด
- ฟอสฟอรัส  ศูนย์กลางของพืช  ในการถ่ายเทพลังงาน  และเผาผลาญโปรตีน
- ปอแตสเซียม  ช่วยในการเร่งการแยกสารละลาย เร่งกิจกรรมของไอออน  เชื่่ยมโยง  กระตุ้นน้ำย่อยหลายชนิดของคาร์โบไฮเดรท  และการเผาผลาญ
- แคลเซียม   มีส่วนร่วมในการแบ่งเซล  และแสดงบทบาทหลักในการคงรูปร่างของชั้นเนื้อเยื่อ
- แมกนีเซียม เป็นส่วนหนึ่งของคลอโรฟีล  และเป็นส่วนเชื่ยมโยง  สำหรับปฎิกริยาของน้ำย่อยหลายชนิด
- กำมะถัน    ร่วมในการให้พลังงานแก่เซลพืช
- เหล็ก      เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในน้ำย่อยหลายชนิด  เป็นพาหะกระแสไฟฟ้าการหายใจร่วมในหน้าที่การเผาผลาญที่สำคัญสูงสุด  เช่นการครึงไนโตรเจน  การสังเคราะห์แสง  และการถ่ายเทกระแสไฟฟ้า
- สังกะสี    เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำย่ยหลายชนิด
- แมงกานีส  ร่วมในกระบวนการออกซิเจนของการสังเคราะห์แสง  และเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย Arhinase  และ  Phossphotransferase
-ทองแดง   เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยที่สำคัญ
-โบรอน     มีส่วนร่วมในขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท  และการสังเคราะห์ส่วนประกอบของผนังเซล
- โมลิบดินัม  ช่วยในการสร้างสารไนโตรเจนให้เกิดขึ้นได้เป็นปรกติในพืช 


- คลอรีน    จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสง  เป็นตัวกระตุ้นน้ำย่อยรวมไปถึงการแยกโมเลกุลของน้ำ และเร่งการแยกสารละลายในการเจริญเติบโตของพืชในดินเค็ม