วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

การสร้างสนามฟุตบอลหญ้าจริง ตอนที่ 1


ขั้นตอนการสร้างสนามฟุตบอล
  1.       กีฬาฟุตบอลเป็นที่นิยมของ บุคลทั่วไป ทำให้มีการสร้างสนามฟุตบอลเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน  ทั่งสนามของรัฐ เอกชน  รวมถึงการสร้างสนามฟุตบอลให้เช่า


      การสร้างสนามฟุตบอลหญ้าจริงนั้น  ต้องอาศัยการวางแผนที่ดี มีการดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อให้ได้สนามที่มีคุณภาพใช้งานได้ยาวนาน ไม่เกิดปัญหาจุกจิก  มีขั้นตอนหลักๆในการสร้าง ดังนี้ การเตรียมพื้นที่  การปรับระดับผิวสนาม ระบบการให้น้ำ ระบบระบายน้ำ การปูหญ้าด้วยการปูแผ่นหรือการหว่าน  และการดูแลบำรุงรักษา
  1. ขั้นตอนการสร้างสนามฟุตบอลหญ้าจริง
  2. 1. การเตรียมพื้นที่เพื่อทำสนาม

  3.  




  1. -การทำความสะอาดพื้นที่ ต้นไม้ หิน กรวด ขนาดใหญ่ หญ้า เศษวัสดุต่างๆ ปรับพื้นที่ให้เรียบ



  2. -กำจัดวัชพืชโดยการใช้สารกำจัดวัชพืช ฉีดให้ทั่วบริเวณในขณะที่วัชพืชเริ่มงอก  เมื่อเช็กค่าระดับ เติ่มดินได้ระดับตามต้องการแล้ว ทำการบดอัดพื้นให้แน่นป้องกันการทรุดตัวในอนาคต  
  3. -แหล่งน้ำ จะเป็นอ่างเก็บน้ำ  น้ำผิวดิน น้ำบาดาล จะใช้จากแหล่งไดก็ได้ แต่ต้องตรวจสอบน้ำ ต้องมีคุณภาพดีไม่เป็นกรด  ไม่เป็นน้ำเสีย  มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้น้ำในฤดูแล้ง


  4. -ก่อนลงชั้นทราย ให้ยาฉีดคุมวัชพืชก่อนงอก อีกครั้งเพื่อไม่ให้วัชพืชโตแข่งกับหญ้าปลูก

  5. 2.วางระบบชลประทาน
  6. -ขุดร่อง วางระบบะรบายน้ำได้ดิน ในสนาม วางท่อระบายน้ำรอบสนาม จะบนดิน หรือใต้ดินตามแบบที่วางใว้ เมื่อเปิดใช้งาน  สนามจะได้มีการระบายน้ำที่ดี

  1. ขุดร่องสำหรับวางท่อระบายน้ำใต้ดิน




























  1. ก่อนวางท่อลงหินรองท่อระบายน้ำใต้ดิน



  1. ลงท่อระบายน้ำ แล้วกลบด้วยหิน






  1. - ติดตั้งระบบ การให้น้ำสนามฟุตบอล ปัจจุบัน มีทั้ง ป๊อบอัพ  และบิ๊กกัน  ให้เลือกใช้



  2. ระบบให้น้ำแบบ ป๊อบอัพ  ประหยัดเวลา ลดเวลาในการทำงานได้ใช้เวลาราว ครึ่งชั่วโมง ถึงหนึ่งชั่วโมง มีความแม่นยำในการให้น้ำ ลดความผิดพลาดในการทำงาน เช็กประสิทธิภาพได้ง่าย ไม่ต้องมีคนเฝ้าตั้งเวลาเปิดน้ำได้ตามความต้องการน้ำในแต่ล่ะฤดูกาล






  1. ระบบการให้น้ำ แบบบิ๊กกัน  เป็นระบบที่นิยมใช้กัน เป็นที่รู้จัก คุ้นเคย  แต่ยังต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการย้ายหัวสปริงเกอร์ ไปตามจุด ใช้เวลาในการให้น้ำนาน  เช่น มีจุดเสียบหัวแปดจุด  ให้น้ำจุดล่ะ สิบนาที  ก็ใช้เวลาในการให้ ชั่วโมงครึ่ง ถึงสองชั่วโมงรวมเวลาในการย้ายหัว





















  1. วางท่อระบบน้ำ ต่อท่อ วางกล่องจุดเปิดน้ำ






  1. ติดตาม ตอนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2568

การฟื้นฟูสนามฟุตบอล

ฟื้นฟูสนามฟุตบอล หญ้าพาสพาลั่ม

 วัตถุประสงค์

         การที่สนามฟุตบอล จะใช้งานได้ดี ความเรียบของพื้น ความแน่นของหญ้า เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

ในช่วงที่เกิดการระบาดของ เชื้อใวรัส โควิด 19 สนามกีฬา ขาดการดูแลบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องทำให้ ขาดความสมบูรณ์สวยงาม

        ดังนั้น จึงได้ทำการปรับปรุงฟื้นฟู สภาพสนามให้มีความสมบูรณ์ ใช้งานก่อนเปิดภาคเรียน อีกทั้งได้ทำแผน ในการดูแลบำรุงรักษา รวมถึงการเพิ่มความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถดูแลสนามให้ คงความสมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้ตลอด















สภาพปัญหาของสนาม

  จากการสำรวจก่อนที่จะทำการปรับปรุง

  • ปัญหาผิวสนามไม่เรียบ มีรอยการทรุดตัวของผิวสนาม มีหลุมขนาดเล็กจำนวณมาก
  • โครงสร้างสนาม เป็นดินเหนียวอัดแน่น ทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี รากสั้น น้ำซึมผ่านลงดินได้ยาก
  • หญ้าไม่แข็งแรงขาดธาตุอาหาร ดินเป็นดินถมไม่มีธาตุอาหาร ทำให้หญ้าแคระแกลน



ปัญหาของสนาม


  • หญ้าหลัก มีวัชพืช ปะปน มีการระบาดของวัชพืชใบกว้าง และใบแคบ ในสนามฝั่งทางรถไฟ
  • การจัดการดูแลสนาม ยังไม่เหมาะสม รอบการตัดหญ้า รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ยังไม่สัมพันธ์กัน
  • มีการใช้งาน กับการบำรุงรักษาไม่สัมพันธ์กัน การใช้งานมาก ในขณะที่ไม่มีการบำรุงทำให้สภาพสนามทรุดโทรม ได้ง่าย
  • พื้นที่การใช้งาน จัดรอบการใช้พื้นที่ ใช้ซ้ำๆในบางจุด บริเวณประตู ทำให้หญ้าหลุด


แนวทางการแก้ใข

การตัดหญ้าให้สั้น เพื่อลดการระบาดของวัชพืช ให้หญ้าหลักได้แสงเต็มที่

ซอยหญ้า ทำการท๊อปทราย ปรับความเรียบ

ให้ปุ๋ยละลายเร็ว เร่งการฟื้นตัว

ฉีดธาตุอาหารรอง เพิ่มความสมบูรณ์

ท๊อปทรายซ้ำเก็บรอย รอบสองให้สนามเรียบยิ่งขึ้น

ให้ปุ๋ยละลายช้า 28-3-10 และฉีดธาตุอาหารรองเพิ่มความสมบูรณ์มีการเติบโตต่อเนื่อง



การฟื้นฟู

        เป้าหมายของการฟื้นฟูนั้น ให้สนามมีความสวยงาม หญ้าแน่น ใช้งานได้ดีโดยตลอด

ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำความเข้าใจแนวทางในการจัดการสนาม จะได้มีการทำงานที่สอดคล้องกันทุกฝ่าย

        นอกจากการดูแลสนามที่เหมาะแล้ว สำหรับการใช้งาน ขอให้ใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม ได้จัดพื้นที่ใช้งานเพิ่มเติมให้ บริเวณสนามหญ้าข้างสนาม ทางเข้าติดห้องเก็บอุปกรณ์ สามารถใช้บริเวณนี้ในการอบอุ่นร่างกายได้

        ในสนามใช้ในการ ซ้อมแผน ขึ้นเกม ลงทีมแข่งขัน สำหรับผู้รักษาประตู ขอให้ย้ายโกล สลับพื้นที่การซ้อม หมุนเวียนลดความเสียหายจุดกรอบประตู



ขันตอนการฟื้นฟู

        การตัดหญ้าให้สั้น เพื่อลดการระบาดของวัชพืช ให้หญ้าหลักได้แสงเต็มที่ การตัดสั้นจะทำให้วัชพืช ชงักการเจริญเติบโต หญ้าหลักจะฟื้นตัว สามารถคลุมพื้นผิวได้ใวกว่า




ญหาของสนาซอยหญ้าเก่าทิ้ง นำเอาต้นเก่าออกบ้าง เป็นการตัดลำต้น บนดิน ในดิน หญ้าจะแตกต้นใหม่ ออกมามากขึ้นทำให้หญ้าแน่น ต้นใหม่ๆตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี



             ทำการท๊อปทราย มีเม็ดทรายที่คงสภาพ แทรกลงในดิน และร่องที่เราทำการซอยหญ้า ทำให้การระบายน้ำ อากาศ ในดินดีขึ้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของหญ้า







         ปรับความเรียบ หลังจากทำการท๊อปทรายไปแล้ว ต้องปรับความเรียบ โดยใช้เสื่อเหล็ก ลากปรับ อุปกรณ์ ชิ้นนี้จะลากทรายลงในหลุมที่ทรุดตัว อีกทั้งยังเก็บหินที่ปนมาออกได้ด้วย


       ให้ปุ๋ยละลายเร็ว เร่งการฟื้นตัว ใส่ปุ๋ย 21-0-0 เพื่อปรับค่าความเป็นกรด ด่างของดีให้เหมาะกับหญ้า สูตร 16-20-0 ช่วยเร่งการแตกต้นใหม่ของหญ้า




               ฉีดธาตุอาหารรอง เพิ่มความสมบูรณ์ ช่วยให้หญ้านำธาตุอาหารไปใช้ได้มาก และเร็วขึ้น ช่วยการฟื้นตัว แตกกอใหม่ มีสีเขียวเข้ม

 


     ตัดหญ้าขึ้นลายเพื่อเพิ่มความสวยงาม ท๊อปทราย ปรับความเรียบซ้ำเก็บรอย รอบสองให้สนามเรียบยิ่งขึ้น


         ให้ปุ๋ยละลายช้า 28-3-10 และฉีดธาตุอาหารรองเพิ่มความสมบูรณ์มีการเติบโตต่อเนื่อง


        แผนงาน การดูแลสนาม

                    การจะรักษาสภาพสนามได้นั้น ต้องมีแผนงานการจัดการดูแลสนามให้เหมาะสมกับ ภูมิประเทศ การใช้งาน สายพันธู์หญ้า การมีแผนงานจะช่วยให้ในอนาคตหากเกิดปัญหา จะง่ายต่อการวิเคราะห์ปัญหา เป็นแนวทาง ปรับแผนการดูแลให้ดียิ่งขึ้นต่อไป